Your browser does not support JavaScript!
หน้าหลัก
แผนผังเว็บไซต์
ติดต่อเรา
เกี่ยวกับเรา
ประวัติ
อาคารอนุรักษ์
ผังโครงสร้างกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์
ค่านิยมหลัก
วัฒนธรรมองค์กร
ทำเนียบ / สถานที่ตั้ง
ศูนย์ข้อมูลทางการเงิน
ฐานข้อมูลทางการเงิน
ทะเบียนสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร-Online
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)
สารสนเทศทางการเงิน
สารสนเทศทางการเงินสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
เครื่องมือทางการเงิน (โปรแกรมทางการเงิน)
การบัญชีและสอบบัญชี
สอบบัญชีภาคเอกชน
ประมวล คำสั่ง ระเบียบ
คำแนะนำและหนังสือเวียนต่างๆ
ระบบบัญชี
ตรวจสอบกิจการ
บันทึกข้อตกลง 7 หน่วยงาน
ระเบียบ
พระราชบัญญัติ
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
คำสั่ง
ผู้ชำระบัญชี
ระเบียบ
ประกาศต่างๆ
มติคณะรัฐมนตรี
โครงการสำคัญ
โครงการพระราชดำริ
โครงการส่งเสริมการจัดทำบัญชี
ต้นทุนอาชีพแก่เกษตรกร
โครงการพัฒนาเกษตรกรที่ทำบัญชีได้
ใช้บัญชีเป็น
โครงการแนะนำการจัดทำบัญชีแก่
เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันและยางพารา
โครงการพัฒนาเกษตรกรให้ใช้ข้อมูล
ทางบัญชีอย่างยั่งยืน
โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่
โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม
(ZONNING BY AGRI-MAP)
โครงการเกษตรอินทรีย์
โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิตสินค้าเกษตร
โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร
(ไทยนิยม ยั่งยืน)
แบบประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการ (สตท.1 - 10)
การกำกับการปฏิบัติงานของครูบัญชี
โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
พัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
โครงการเสริมสร้างการบริหารการเงินแก่สมาชิก
สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ประมวลภาพ
โครงการย้อนหลัง
เครือข่ายครูบัญชี
พระราชดำรัส
ความเป็นมา
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ครูบัญชีดีเด่นระดับประเทศ
ชมรมอาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี
ประมวลภาพกิจกรรม
แนะนำหนังสือครูบัญชีดีเด่นประจำปี
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
เว็บไซต์หน่วยงาน
Intranet
อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
สารคดีแนะนำกรมฯ
ข่าวประกาศ
ประกาศ เรื่องรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบบัญชีชำนาญการพิเศษ (กรณีการเลื่อน)
อ่านทั้งหมด
ข่าวเด่นวันนี้
ปี 2559
อตส. เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในโอกาสอำลาตำแหน่ง (30/09/2559)
กตส. จัดงานเลี้ยงอำลาอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ (30/09/2559)
สตส.มุกดาหาร ร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2559 สหกรณ์การเกษตรดงหลวง จำกัด (30/09/2559)
สตส.บึงกาฬ ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ สรุปผลการปฏิบัติงานปี 2559 และซักซ้อมการปฏิบัติงานปี 2560 (30/09/2559)
สตส.นครปฐม จัดนิทรรศการ "โครงการจังหวัดนครปฐมพบประชาชน และโครงการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุขสร้างรอยยิ้มให้ประชาชน (30/09/2559)
อ่านทั้งหมด
ข่าวสาร
ข่าวประกาศ
Clipping Online
แจ้งข่าวประจำวัน
บทความน่าสนใจ
ประกาศราคากลาง
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
มัลติมีเดีย
คลื่นเกษตรกร AM 1386 KHZ
วารสาร กตส.
สปอต
สารคดี
รายงานประจำปี
ระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
เพลงของพ่อ
e-Service
ศูนย์วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและการเงินสหกรณ์แห่งชาติ NCEFIC
แจ้งเรืองร้องทุกข์
เว็บบอร์ด
KNOWLEDGE MANAGEMENT
CALL CENTER 0 2016 8888 ต่อ 2108
บริการ
พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2554
Download แบบฟอร์ม
สภาวิชาชีพบัญชี
แผนความต่อเนื่องของ กศส. เพื่อเตรียมพร้อมสภาวะวิกฤต
ครูบัญชี
ร้องทุกข์/ร้องเรียน
ครูบัญชีอาสา
ดาวน์โหลด App กระทรวงเกษตรฯ
แนวทางปฏิบัติงานโครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
พัฒนาระบบบริหาร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม
CAD Conference
เกษตรกรปราดเปรืองด้านบัญชี
Q&A
ศูนย์ปฏิบัติการ
คู่มือ ปฏิบัติงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
สหกรร์ออมทรัพย์ข้าราชการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จำกัด
แนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติงานตามโครงการพัฒนา ศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ในส่วนขององค์การสวนยาง
สมุดบัญชี - รับจ่ายในครัวเรือน
ระบบฐานข้อมูล สอ.ธปอ.
โดย..วัลดี แก้วพรหม "ภาพรวมเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาสที่ 2/2558 ธุรกิจขยายตัว 2.32% เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 2/2558 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขยายตัวร้อยละ 2.8 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการหดตัวต่อเนื่องของการผลิตในภาคเกษตรโดยเฉพาะหมวดพืชผล ขณะที่ภาคนอกเกษตรชะลอลง เนื่องจากสาขาอุตสาหกรรมที่หดตัวประกอบกับสาขาก่อสร้างชะลอลง ส่วนภาคบริการต่าง ๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาสที่ 2/2558 จากข้อมูลรวบรวม (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2558) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 11,125 แห่ง ประกอบด้วย สหกรณ์ 6,987 แห่ง (ภาคการเกษตร 3,848 แห่ง นอกภาคการเกษตร 3,139 แห่ง) และกลุ่มเกษตรกร 4,138 แห่ง มีสมาชิกผู้รับบริการรวม 12.78 ล้านคนเศษ คิดเป็น 19.63 % ของประชากรไทยทั้งประเทศ พบว่า เศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยขยายตัว 2.32 % เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวเล็กน้อยที่ 1.08 % ผลมาจากธุรกิจการรับฝากเงินเพิ่มขึ้น ส่วนธุรกิจการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายลดลง สภาพทั่วไป จำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรขยายตัวร้อยละ 0.14 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก มีจำนวนสมาชิกโดยรวมขยายตัวร้อยละ 3.57 มีเงินทุนดำเนินงานขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นเงินทุนภายใน ร้อยละ 75 และทุนจากภายนอกร้อยละ 26 รองลงมาเป็น ประเภทสหกรณ์การเกษตรมีปริมาณธุรกิจเท่ากับ 3.08 แสนล้านบาท (15.15%) ด้านสมาชิกสหกรณ์ มีเงินออมเฉลี่ย 126,923 บาทต่อคน (ลดลง 2.49%) และมีหนี้สินเฉลี่ย 141,100 บาทต่อคน (ลดลง 3.05%) โดยสมาชิกภาคการเกษตรมีเงินออมเฉลี่ย 16,124 บาทต่อคน ขณะที่มีหนี้เงินกู้ยืมเฉลี่ย 22,470 บาทต่อคน (หนี้สินเฉลี่ยคิดเป็น 1.39 เท่าของเงินออมเฉลี่ย) ส่วนนอกภาคการเกษตรมีเงินออมเฉลี่ย 295,460 บาทต่อคน และมีหนี้เงินกู้ยืมเฉลี่ย 322,310 บาทต่อคน (หนี้สินเฉลี่ยคิดเป็น 1.09 เท่าของเงินออมเฉลี่ย) ส่วนกลุ่มเกษตรกรมีเงินออมเฉลี่ย 1,101 บาทต่อคน และมีหนี้เงินกู้ยืมเฉลี่ย 2,201 บาทต่อคน โดยหนี้สินเฉลี่ยคิดเป็น 2 เท่าของเงินออมเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม ควรเสริมสร้างสมาชิกให้มีวินัยทางการเงินด้วยการวางแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน มีการจัดทำบัญชีรายรับและรายจ่ายในครัวเรือนเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้สมาชิกมีเงินเหลือออมเพิ่มขึ้น และสามารถชำระหนี้สินคืนให้กับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรต่อไป 1. กลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตร (เกษตร/ประมง/นิคม) จำนวน 3,848 แห่ง สมาชิก 6.73 ล้านคนเศษ "ธุรกิจขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.33 จากไตรมาสแรกที่ผ่านมา ปัจจัยบวกมาจากธุรกิจการให้เงินกู้ยืมและธุรกิจการรับฝากเงิน กำไรเพิ่มขึ้น ส่วนสมาชิกมีอัตราการก่อหนี้สินเฉลี่ยมากกว่าการออมเงินเฉลี่ย ภาคการเกษตร มีทุนกว่า 2.32 แสนล้านบาท มีธุรกิจลงทุน 5 ธุรกิจ มีมูลค่ารวม 3.25 แสนล้านบาทเศษ ขยายตัวร้อยละ 0.33 เทียบกับไตรมาสแรกที่ผ่านมา พบว่า ธุรกิจการให้เงินกู้ยืมมากสุด 9.12 หมื่นล้านบาท (28.07%) หรือเฉลี่ย 13,540 บาทต่อคน รองลงมา ธุรกิจรวบรวมผลิตผล/แปรรูป (27.08%) ธุรกิจรับฝากเงิน (22.55%) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (22.13%) และ ธุรกิจให้บริการ (0.17%) ตามลำดับ มีรายได้รวม 1.86 แสนล้านบาท (ลดลง 2.20%) ส่วนค่าใช้จ่ายรวม 1.81 แสนล้านบาท (ลดลง 2.35%) คิดเป็นร้อยละ 97.50 ของรายได้รวมทั้งสิ้น มีกำไรสุทธิรวม 4,647.71 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 3.95%) ส่วนสมาชิกมีเงินออมเฉลี่ย 16,124 บาทต่อคน (เพิ่มขึ้น 3.35%) ขณะที่หนี้สินเฉลี่ย 22,470 บาทต่อคน (เพิ่มขึ้น 3.50%) โดยหนี้สินเฉลี่ยคิดเป็น 1.39 เท่าของเงินออมเฉลี่ย 2. กลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตร (ร้านค้า/บริการ/ออมทรัพย์/เครดิตยูเนี่ยน) จำนวน 3,139 แห่ง สมาชิก 5.12 ล้านคนเศษ "ธุรกิจขยายตัวร้อยละ 2.80 เทียบกับไตรมาสแรกที่ผ่านมา ปัจจัยมาจากธุรกิจการรับฝากเงินเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายลด กำไรเพิ่ม ส่วนสมาชิกอัตราการออมเงินเฉลี่ยและการก่อหนี้เฉลี่ยลดลงเล็กน้อย นอกภาคการเกษตร มีทุนรวมกว่า 2.21 ล้านล้านบาท มีธุรกิจลงทุน 5 ธุรกิจ มูลค่ารวม 1.70 ล้านล้านบาทเศษ ขยายตัวร้อยละ 2.80 เทียบกับไตรมาสแรกที่ผ่านมา ปัจจัยบวกที่สำคัญมาจากการธุรกิจการรับฝากเงินและธุรกิจรวบรวมผลิตผล/แปรรูปเพิ่มขึ้น ส่วนธุรกิจการให้เงินกู้ยืมและธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายลดลง โดยธุรกิจการให้เงินกู้ยืมมีมูลค่ามากที่สุด 1.08 ล้านล้านบาท (63.35%) หรือเฉลี่ย 2.10 แสนบาทต่อคน รองลงมาเป็น ธุรกิจการรับฝากเงิน (35.75%) มีรายได้รวม 1.47 แสนล้านบาท (เพิ่มขึ้น 0.78%) แต่ในขณะที่ค่าใช้จ่ายรวม 8.19 หมื่นล้านบาทเศษ (ลดลง 12.04%) และมีกำไรสุทธิรวม 6.50 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 23.45%) ส่วนสมาชิกมีเงินออมเฉลี่ย 295,460 บาทต่อคน (ลดลง 0.05%) หนี้สินเฉลี่ย 322,310 บาทต่อคน (ลดลง 0.73%) โดยหนี้สินเฉลี่ยคิดเป็น 1.09 เท่าของเงินออมเฉลี่ย 3.กลุ่มเกษตรกร จำนวน 4,138 แห่ง สมาชิก 9.30 แสนคนเศษ "ธุรกิจหดตัวร้อยละ 12.88 เทียบกับไตรมาสแรกที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญมาจากธุรกิจลงทุนเกือบทุกด้านลดลง รายได้ลด กำไรหด สมาชิกมีอัตราการออมเงินเฉลี่ยและการก่อหนี้เฉลี่ยลดลง กลุ่มเกษตรกร มีทุนรวมทั้งสิ้น 3.74 พันล้านบาท มีธุรกิจลงทุน 5 ธุรกิจ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 8.89 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ 12.88 เทียบกับไตรมาสแรกที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญมาจากธุรกิจลงทุนลดลงเกือบทุกด้าน ยกเว้น ธุรกิจการให้เงินกู้ยืมและธุรกิจการให้บริการเพิ่มขึ้น โดยธุรกิจรวบรวมผลิตผล/แปรรูปมีมูลค่ามากสุด 5.78 พันล้านบาท (65.02%) หรือเฉลี่ย 6,214 บาทต่อคน รองลงมาคือ ธุรกิจสินเชื่อ (20.65%) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (11.44%) มีรายได้รวมกว่า 7.2 พันล้านบาท (ลดลง 16.13%) ส่วนค่าใช้จ่ายรวมกว่า 7.1 พันล้านบาท (ลดลง 16.30%) มีกำไรสุทธิรวม 119.95 ล้านบาท (ลดลง 5.08%) ส่วนสมาชิกมีเงินออมเฉลี่ย 1,101 บาทต่อคน และมีหนี้สินเฉลี่ย 2,201 บาทต่อคน โดยหนี้สินเฉลี่ยคิดเป็น 2 เท่าของเงินออมเฉลี่ย ค่อนข้างสูง ทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาสหน้าคาดการณ์ว่าธุรกิจจะขยายตัวเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยได้รับผลกระทบต่อเนื่องที่ผ่านมาจากปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมพื้นที่หลายจังหวัด และราคาพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญยังอยู่ในระดับต่ำ เป็นปัจจัยส่งผลกระทบต่อรายได้ และกำลังซื้อในการอุปโภคและบริโภคให้ลดน้อยลง ดังนั้น สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและนักลงทุน ให้ความสำคัญของการสะสมทุนสำรอง รวมทั้ง มีการบริหารจัดการที่ดี โดยมีระบบการผลิตให้สอดคล้องกับพื้นที่และความต้องการของตลาด มีการเชื่อมโยงเครือข่ายสหกรณ์ และการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในพื้นที่ให้เหมาะสม การจัดหาตลาด เพื่อลดต้นทุนการผลิต ตลอดจน การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ ให้สหกรณ์เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน เป็นที่พึ่งพาของสมาชิกต่อไป
ข่าว/บทความยอดนิยม
ข่าว/บทความที่คะแนนโหวตสูงสุด
ข่าว/บทความล่าสุด
Learning English : ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (22/03/2550)
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPL) ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรปี 2555
ผู้สอบบัญชีสหกรณ์มีบทบาทและหน้าที่ในการป้องกันและตรวจสอบการทุจริตในสหกรณ์ได้อย่างไร
"อ้อย"รวบรวมผลผลิตขยายตัว 26.43%
ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาสที่ 2/2558
รายงานภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาส 4/2555
ครัวเรือนภาคสหกรณ์ออมเงินเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 12.34%
ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาส 3/2557
เสถียรภาพทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ปี 2556
ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาสที่ 4/2557
เงินออมภาคสหกรณ์ไทย รายไดรมาส ปี 2562
กฎหมายปกครองสำหรับผู้บริหาร
สินเชื่อและหนี้ที่ชำระไม่ได้ตามกำหนด /(NPL) ภาคสหกรณ์ไทยเป็นไปในทิศทางใด ในปี 2561
สถานการณ์ด้่านเศรษฐกิจของสหกรณ์ประมงกับทิศทางแนวโน้มปี 2562
เงินออมภาคสหกรณ์ไทย ปี 2561
จำนวนคนอ่าน 20191 คน
จำนวนคนโหวต 6 คน
โหวตคะแนนให้ข่าว/บทความนี้
1
2
3
4
5
ระดับ
ให้ 1 คะแนน
67%
ให้ 2 คะแนน
17%
ให้ 3 คะแนน
0%
ให้ 4 คะแนน
0%
ให้ 5 คะแนน
17%
Copyright 2016 by Cooperative Auditing Department
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 ศูนย์บริการประชาชน (Call Center) 0 2016 8888