Sorry, your browser does not support JavaScript!
W3C
fontsizes fontsizem fontsizel
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์



 

โดยสิรัลยา จิตอุดมวัฒนา

     ในการดำเนินชีวิตของผู้มีรายได้ประจำ หรือมนุษย์เงินเดือนอย่างพวกเราท่านทั้งหลายให้เกิดความสุข สิ่งหนึ่งที่ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้คือจะบริหารการเงินของตนเองให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไรในยุคปัจจุบัน ทำอย่างไรเราจะควบคุมดูแลการเงินของตนเองให้มีเงินเหลือหรือเงินเก็บ ความลับของการออมเงินนั้นไม่มีปาฏิหาริย์ ขอเพียงเราต้องเริ่มต้นด้วยหลักการพื้นฐานของการสร้างวินัยทางการเงินคือต้องใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาตนเองเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปรับปรุงการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และสหกรณ์
ออมทรัพย์เป็นทางเลือกหนึ่งของการสร้างวินัยทางการเงินด้วยการออม
          สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นองค์กรในรูปสถาบันการเงินที่จัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมการออม และให้บริการเงินกู้แก่สมาชิกตามความจำเป็น ตลอดจนจัดให้มีสวัสดิการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกได้ใช้สหกรณ์เป็นเครื่องมือช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัว โดยอาศัยพื้นฐานแห่งการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักอุดมการณ์สหกรณ์ ภาพรวมสถานการณ์ทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ปี 2555 จำนวน 1,306 แห่ง มีสินทรัพย์โดยรวมกว่า 1.47 ล้านล้านบาท และสมาชิกประกอบด้วยผู้มีรายได้ประจำจำนวน 2.76 ล้านคน ทั้งนี้สมาชิกมีเงินออมในระบบแบบระยะยาว โดยสะสมทุกเดือนเพื่อไว้ใช้ในอนาคตในรูปของทุนเรือนหุ้น จำนวนเงิน 601,810 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.93 ของสินทรัพย์ทั้งสิ้น อีกส่วนเป็นเงินออมระยะสั้นด้วยการนำมาฝากไว้กับสหกรณ์เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน จำนวนเงิน 429,132 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.19 ของสินทรัพย์ทั้งสิ้น ซึ่งหากเทียบกับเงินรับฝากของระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ( 16 แห่ง) คิดเป็นร้อยละ 5.55 * สหกรณ์ออมทรัพย์ในปัจจุบันมีขนาดและฐานะการเงินที่แตกต่างกัน บางแห่งใช้เงินออมของสมาชิกถือเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญในการนำมาบริหารงานซึ่งมีต้นทุนต่ำสำหรับให้เงินกู้แก่สมาชิกได้อย่างเพียงพอ ในขณะที่สหกรณ์บางแห่งจำเป็นต้องหาทุนจากการรับฝากและกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนภายนอก

* ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อมูล ณ 31 มี.ค.55 เงินรับฝากของระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศเท่ากับ 7,736,988 ล้านบาท
จากตารางที่ 1 การกระจายตัวของข้อมูลเป็นรายภาค ชี้ให้เห็นว่าเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีการรวมตัวจัดตั้งสหกรณ์สูงสุด มีจำนวนสมาชิกคิดเป็นร้อยละ 49.29 และการออมเงินฝากตลอดจนซื้อหุ้นคิดเป็นร้อยละ 55.64 ของยอดรวมทั้งสิ้น รองลงมาได้แก่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้หากพิจารณาเงินออมของสมาชิกต่อราย โดยกระจายข้อมูลตามกลุ่มอาชีพของสมาชิก (ตารางที่ 2) จะเห็นได้ว่าปัจจุบันเงินออมในระบบสหกรณ์ออมทรัพย์จะอยู่ที่กลุ่มของผู้มีรายได้มาก ได้แก่สมาชิกของกลุ่มมหาวิทยาลัยที่มีวินัยทางการเงินอย่างสม่ำเสมอสูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น ๆ โดยมีสมาชิกออมเงินกับสหกรณ์จำนวนเงิน 1,004,065 บาท/คน รองลงมาเป็นกลุ่มอาชีพรัฐวิสาหกิจ จำนวนเงิน 718,800 บาท/คนและกลุ่มอาชีพที่มีเงินออมต่อสมาชิกน้อยที่สุด ได้แก่ กลุ่มอาชีพของบริษัทเอกชน

ตารางที่ 2 แสดงการออมเงินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์แยกตามกลุ่มอาชีพ

         
          สหกรณ์ออมทรัพย์จึงเป็นเสมือนสถาบันการเงินที่สมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน และการออมอย่างสม่ำเสมอช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว ดังนั้นการออมเงินในสหกรณ์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีเจตนาในการปลูกฝังวินัยทางการเงินให้กับสมาชิกได้เก็บออมกับสหกรณ์ เพื่อสร้างฐานะความเป็นอยู่ที่ดีมีความมั่นคงในชีวิต นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ทางหนึ่ง อนึ่งเคล็ดลับสำหรับผู้ต้องการสร้างเงินออมหรือทำอย่างไรให้มีเงินเก็บ วิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ดังนี้
         เริ่มต้นออมทันทีที่มีรายได้                      เก็บออมอย่างสม่ำเสมอ
         วางแผนกันเงินไว้ทุกครั้งที่มีรายได้           ตั้งจุดประสงค์ในการออมเพื่ออะไร
         เลือกซื้อของประหยัด คุ้มค่า                   ทำบัญชีรับ- จ่าย ในครัวเรือน
         เดินสายกลาง  ดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง
เพียงเท่านี้หากฝึกฝนจนเป็นนิสัยก็อาจทำให้ห่างไกลจากความขัดสนในอนาคต ดังนั้นการออมเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ ควรปลูกฝังการประหยัดเงินตั้งแต่อายุยังน้อย เงินล้านคงไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน

ภาคผนวกแสดงข้อมูลทางการเงินที่สำคัญของสหกรณ์ออมทรัพย์ในรอบ 5 ปี

หน่วย : ล้านบาท


ข่าว/บทความยอดนิยม ข่าว/บทความที่คะแนนโหวตสูงสุด ข่าว/บทความล่าสุด
Learning English : ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (22/03/2550)
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPL) ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรปี 2555
วิกฤตเศรษฐกิจกระทบเศรษฐกิจสหกรณ์ออมทรัพย์หรือไม่ อย่างไร...
บัญชีต้นทุนประกอบอาชีพช่วยเกษตรกรเรื่องภาษีได้
ผู้สอบบัญชีสหกรณ์มีบทบาทและหน้าที่ในการป้องกันและตรวจสอบการทุจริตในสหกรณ์ได้อย่างไร
สหกรณ์ไทย ...คืนกำไรสู่สมาชิก 80.52 %
รายงานภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาส 4/2555
ครัวเรือนภาคสหกรณ์ออมเงินเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 12.34%
ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาส 3/2557
เสถียรภาพทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ปี 2556
สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจของสหกรณ์ออมทรัพย์ และแนวโน้ม ปี 2568
สถานการณ์การค้าข้าวไทยและการรวบรวมผลิตผลข้าวเปลือกของภาคสหกรณ์์ไทยปี 2567
สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีส่วนขาดแห่งทุน
หนี้ที่ชำระไม่ได้ตามกำหนด/NPL ภาคสหกรณ์ไทย ในไตรมาส 2/2567
สุขภาพทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์
จำนวนคนอ่าน 17670 คน จำนวนคนโหวต 10 คน

  จำนวนคนโหวต 10 คน
โหวตคะแนนให้ข่าว/บทความนี้
1 2 3 4 5

  ระดับ 

  ให้ 1 คะแนน
0%
  ให้ 2 คะแนน
0%
  ให้ 3 คะแนน
 
10%
  ให้ 4 คะแนน
 
30%
  ให้ 5 คะแนน
 
60%
เกี่ยวกับเรา
  • ประวัติ
  • อาคารอนุรักษ์
  • ทำเนียบอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
  • ผังโครงสร้างกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
  • วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย
  • ค่านิยมหลัก
  • วัฒนธรรมองค์กร
  • ทำเนียบ / สถานที่ตั้ง

  • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    สงวนลิขสิทธิ์ 2559 - กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
    ศูนย์บริการประชาชน (Call Center) 0 2016 8888 โทรสาร 0 2282 0889
     

    Valid HTML 4.01 Transitional

    การแสดงผลหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดสำหรับ Google Chrome และ Internet Explorer ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 650 pixel