Sorry, your browser does not support JavaScript!
W3C
fontsizes fontsizem fontsizel
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์



 

เมื่อเอ่ยถึง พ่อบุญเป็ง จันต๊ะภา ท่านผู้อ่านหลายท่านคงจะสงสัยว่า เขาคือใคร แต่ก็มีอีกหลายท่านที่รู้จักพ่อบุญเป็งเป็นอย่างดี เพราะบุรุษผู้นี้ คือชายร่างเล็กผู้กล้าหาญ ขอลูกชายพ่อเลี่ยมมาเป็นดอง กลางห้องประชุม ในการสัมมนาเกษตรกรอาสา เพราะเหตุผลที่ว่า ลูกชายพ่อเลี่ยมพูดถึงการอดออมและประหยัดได้กินใจพ่อบุญเป็งเป็นหนักหนา


พ่อบุญเป็ง จันต๊ะภา คือครูบัญชีอาสาจังหวัดเชียงราย ที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 7 ให้เป็นผู้ได้ รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นระดับภาค ซึ่งผู้เขียนมีโอกาสที่ดี ที่ได้ติดตามท่านอธิบดีผู้งดงามด้วยจิตใจ แถมมองคนในแง่ดี หวังดีกับคนรอบด้าน ไปถ่ายทำสารคดีในรายการเกษตรโฟกัส ซึ่งหลายท่านคงจะได้ติดตาม รายการนี้ตลอดเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สำหรับตอนของพ่อบุญเป็งนั้น พวกเราได้ตั้งชื่อตอนว่า นำบัญชี สู่ครัวเรือน ซึ่งท่านอธิบดีและคณะ ประกอบด้วย คุณชาญชัย เลขาผู้รู้ใจบ้าง ไม่รู้ใจบ้าง (ล้อเล่นน่า) พี่ฉัตรนลิน จากส่วนพัฒนาการบัญชี พี่จรัญ ส่วนประชาสัมพันธ์ ผู้เขียนและน้องอร คนสวยคนเดิม ร่วมเดินทางไปกับท่านอธิบดี โดยได้กำหนด การถ่ายทำในวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 ณ ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์เกษตรกร บ้านพ่อบุญเป็ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลไม้ยา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย การเดินทางของคณะเรา ได้เดินทางโดยรถยนต์ของ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 7 มีท่านผอ.ศิริวรรณ ตระกูลศีลธรรม หัวหน้าสุนีย์ พิทักษ์วาปี หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย พร้อมด้วยน้องแดง ร่วมเดินทาง คณะท่านอธิบดีได้เดินทาง ไปบ้านพ่อบุญเป็ง ระหว่างทางเป็นภูเขา รถต้องขึ้นเขา ลงเขา สลับซับซ้อนกันไป สองข้างทางเป็นทิวเขาที่ดูสวย บรรยากาศเช่นนี้เป็นบรรยากาศที่มีความสุขมาก รู้สึกอิจฉาคนภาคเหนือจริง ๆ ที่ได้อยู่กับธรรมชาติอันสวยงาม ผิดกับคนกรุงเทพ ได้อยู่กับธรรมชาติที่ปนไปด้วยมลพิษ (แต่ผู้เขียนก็พอใจที่จะอยู่ เพราะว่าครอบครัวอยู่ที่กรุงเทพฯ นี่ค่ะ จะเห็นที่อื่นดีกว่าได้อย่างไร) พอไปถึงบ้านพ่อบุญเป็ง สิ่งแรกที่พวกเราเห็นก็คือป้าย3 ป้ายเรียงรายกัน ป้ายแรกคือป้ายแปลงสาธิตจุดเรียนเรียนรู้ เรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน ป้ายที่สองคือป้าย จุดสาธิตโครงการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบล ด้านประมง และป้ายสุดท้ายที่ยังดูใหม่เอี่ยมได้แก่ป้าย นายบุญเป็ง จันต๊ะภา ครูบัญชีเกษตรกรอาสา สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย
 

>>> พ่อบุญเป็ง เป็นใคร และมาจากไหน

พ่อบุญเป็ง จันต๊ะภา คือครูบัญชีอาสาจังหวัดเชียงราย ที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 7 ให้เป็นผู้ได้ รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นระดับภาค ซึ่งผู้เขียนมีโอกาสที่ดี ที่ได้ติดตามท่านอธิบดีผู้งดงามด้วยจิตใจ แถมมองคนในแง่ดี หวังดีกับคนรอบด้าน ไปถ่ายทำสารคดีในรายการเกษตรโฟกัส ซึ่งหลายท่านคงจะได้ติดตาม รายการนี้ตลอดเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สำหรับตอนของพ่อบุญเป็งนั้น พวกเราได้ตั้งชื่อตอนว่า นำบัญชี สู่ครัวเรือน ซึ่งท่านอธิบดีและคณะ ประกอบด้วย คุณชาญชัย เลขาผู้รู้ใจบ้าง ไม่รู้ใจบ้าง (ล้อเล่นน่า) พี่ฉัตรนลิน จากส่วนพัฒนาการบัญชี พี่จรัญ ส่วนประชาสัมพันธ์ ผู้เขียนและน้องอร คนสวยคนเดิม ร่วมเดินทางไปกับท่านอธิบดี โดยได้กำหนด การถ่ายทำในวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 ณ ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์เกษตรกร บ้านพ่อบุญเป็ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลไม้ยา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย การเดินทางของคณะเรา ได้เดินทางโดยรถยนต์ของ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 7 มีท่านผอ. ศิริวรรณ ตระกูลศีลธรรม หัวหน้าสุนีย์ พิทักษ์วาปี หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย พร้อมด้วยน้องแดง ร่วมเดินทาง คณะท่านอธิบดีได้เดินทาง ไปบ้านพ่อบุญเป็ง ระหว่างทางเป็นภูเขา รถต้องขึ้นเขา ลงเขา สลับซับซ้อนกันไป สองข้างทางเป็นทิวเขาที่ดูสวย บรรยากาศเช่นนี้เป็นบรรยากาศที่มีความสุขมาก รู้สึกอิจฉาคนภาคเหนือจริง ๆ ที่ได้อยู่กับธรรมชาติอันสวยงาม ผิดกับคนกรุงเทพ ได้อยู่กับธรรมชาติที่ปนไปด้วยมลพิษ (แต่ผู้เขียนก็พอใจที่จะอยู่ เพราะว่าครอบครัวอยู่ที่กรุงเทพฯ นี่ค่ะ จะเห็นที่อื่นดีกว่าได้อย่างไร) พอไปถึงบ้านพ่อบุญเป็ง สิ่งแรกที่พวกเราเห็นก็คือป้าย3 ป้ายเรียงรายกัน ป้ายแรกคือป้ายแปลงสาธิตจุดเรียนเรียนรู้ เรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน ป้ายที่สองคือป้าย จุดสาธิตโครงการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบล ด้านประมง และป้ายสุดท้ายที่ยังดูใหม่เอี่ยมได้แก่ป้าย นายบุญเป็ง จันต๊ะภา ครูบัญชีเกษตรกรอาสา สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย
 
>>> การประกอบอาชีพของพ่อบุญเป็ง
 
พ่อบุญเป็ง จันต๊ะภา ประกอบอาชีพการเกษตร ทำไร่นาสวนผสมแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือมี33 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา ในเนื้อที่ดังกล่าว ได้ทำนา 13 ไร่ ทำไร่นาสวนผสม 10 ไร่ 1 งาน 35 ตารางวา ขุดบ่อปลา 2 ไร่ สวนผลไม้ 2 ไร่ ทำปุ๋ย 2 ไร่ ทำนาผสม 4 ไร่ และอยู่อาศัย 1 งาน 35 ตารางวา นับว่าพอเพียง ดังนั้นจึงไม่เป็นที่แปลกใจของพวกเราที่ไปถ่ายทำ ว่าที่ดินของพ่อบุญเป็งจึงเสมือนกับศูนย์เรียนรู้ทุกอย่าง ใครอยากเรียนรู้เรื่องอะไรก็มีสาธิตให้ดู เมื่อทีมงานถ่ายทำ พร้อมคณะท่านอธิบดี ไปถึง ประมาณ 8.30 น เราก็เริ่มถ่ายทำ โดยฉากแรก เป็นฉากที่ท่านอธิบดี พร้อมด้วย พ่อบุญเป็ง และ นายเสียม (พิธีกรที่พูดเร็วที่สุด) สัมภาษณ์อธิบดี และพ่อบุญเป็ง โดยได้เดินดูแปลงสาธิตทั้งหมด จุดแรกที่เราเห็นในการถ่ายทำคือ เป็นห้องเล็ก ๆ ในนั้นเมื่อเปิดประตูดู จะเห็นหมู 2 ตัวหน้าสลอนรอรับแขกที่มาเยือนเช่นพวกเรา เมื่อมองลึกลงไปจะเห็นคอห่านสีฟ้าตั้งตะหง่าน ได้สอบถามพ่อบุญเป็งว่าทำไมถึงเลี้ยงหมูในห้องส้วม ทราบมาว่า ห้องส้วมนั้นเป็นห้องเก่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพราะหลังจากที่พ่อบุญเป็งได้อุทิศที่ของตัวเองเป็นแปลงสาธิตจึงได้ทำการสร้างห้องน้ำขึ้นมาใหม่ ห้องเก่าจึงไม่ได้ใช้ประโยชน์ เห็นว่าอยู่เปล่า ๆ จึงนำหมูมาเลี้ยงเพราะพื้นห้องน้ำเทปูน หมูก็จะนอนด้วยพื้นที่เย็น (มิน่า หมูบ้านพ่อบุญเป็ง จึงมีสีชมพู ) หลังจากนั้น ทีมงานจึงได้เดินไปดูบ่อปลาไหล บ่อปลาดุก ไร่นาสวนผสม สวนไร่แก้วมังกร หลังจากดูโดยรอบ อากาศเริ่มร้อน เราจึงต้องมาแวะทานน้ำที่บ้านพ่อบุญเป็งซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น

จึงทำให้พบกับ ภรรยาคนสวย (สวยจริง ๆ ) จึงได้สอบถามว่าทำอย่างไรภรรยาจึงได้ดู สาวและสวย พ่อบุญเป็งตอบด้วยใบหน้าที่มีรอยยิ้มเล็ก ๆ ว่า ผมเลี้ยงภรรยาแบบชีวภาพ (ท่านได้ยินไม่ผิดหรอกค่ะ ชีวภาพจริง ๆ) ผู้เขียนสงสัยว่าชีวภาพคืออะไร ชีวภาพก็คือการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่หาเรื่องเดือดร้อนให้กัน พูดดีต่อกัน ไม่ทะเลาะกัน สร้างแต่สิ่งดี ๆ ให้กัน ที่สำคัญคือไม่คิดนอกใจกัน (ใครอยากมีภรรยาสวยก็อย่าลืมปฏิบัติตามก็แล้วกัน เคล็ดลับนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์น๊ะคะ) เอ้านอกเรื่องอีกแล้ว หลังจากที่ได้เช็ดเหงื่อที่เริ่มไหลด้วยผ้าเย็น และดื่มน้ำเสร็จแล้ว ทีมงานก็ได้ถ่ายทำต่อที่ศูนย์เรียนรู้ของพ่อบุญเป็ง ในวันนั้น เป็นการสอนเรื่องของบัญชีครัวเรือน ซึ่งได้มีการอบรม 3 วัน และวันที่ไปถ่ายทำเป็นวันสุดท้ายของการอบรม มีเกษตรกรที่มาเข้ารับการอบรมจากพ่อบุญเป็งประมาณ 20 กว่าคน ทุกคนมีตัวอย่างของการบันทึกบัญชี ท่านอธิบดีจึงได้เปิดสมุดบัญชีครัวเรือนของแต่ละคน พร้อมซักถามที่มาที่ไปของรายรับ และรายจ่าย เกษตรกรที่ท่านอธิบดีถาม ทุกคนดูมีความสุข ด้วยความสุขที่ว่ามีผู้ใหญ่ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มาเยี่ยมเยียนพวกเขาถึงที่ แถมยังนำความรู้และเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อเขามาเข้าสู่ครัวเรือน ทำบัญชีแล้วจะไม่จน คือคำใหม่ที่พวกเขาได้รู้กันในวันอบรม แต่ท่านอธิบดีก็ได้ขยายผลว่า การทำบัญชีก็เหมือนการรับศีล ถ้าไม่นำมาปฏิบัติก็ไม่เกิดผล ไปไม่ถึงสวรรค์ หรือการทำบัญชีก็เหมือนกับการส่องกระจก ส่องตัวเราเอง กระจกนั้นไม่สามารถทำให้เราสวยได้ เพราะว่ากระจกเพียงแต่บอกเราว่านี้สวยนี้ไม่สวย เท่านั้น หากเราไม่แต่งเติม หน้าตาเขียนคิ้ว หวีผม ด้วยตัวของเราเอง ยังไงก็เหมือนเดิม ดังนั้น การทำบัญชี ไม่ใช่แต่ว่าจดอย่างเดียว แต่เราต้องนำมาวิเคราะห์ว่า เราใช้จ่ายอะไรไปมากน้อยแค่ไหน จำเป็นหรือไม่ อะไรลดได้อะไรลดไม่ได้ จึงจะเกิดประโยชน์ ถ้าจดแล้วไม่นำมาวิเคราะห์ ก็ไม่เกิดประโยชน์ รู้ว่ารายจ่ายมากแต่ไม่คิดจะลด ก็มีค่าเท่าเดิม ก็เลยมองไม่เห็นความสำคัญของการบันทึกบัญชี (เป็นอย่างไรบ้างค่ะ คำคมของท่านอธิบดี มีหลายท่านบอกว่าสอนเรื่องบัญชีแต่ไม่รู้จะยกตัวอย่างอย่างไรให้เป็นรูปธรรม แต่พออ่านคำคมท่านแล้ว ต่อไปสอนให้ใครฟังจะยกตัวอย่างของท่านอธิบดี เพราะฟังและเข้าใจง่าย)
 
>>> ทำไมพ่อบุญเป็งถึงได้มาเป็นครูบัญชีอาสา

ผู้เขียนได้มีเวลา จึงได้พูดคุยกับพ่อบุญเป็งถึงที่มาที่ไปของการเป็นครูบัญชีอาสา และการบันทึกบัญชี พ่อบุญเป็งบอกว่า เมื่อก่อนได้เริ่มบันทึกบัญชีมานานโดยบันทึกในสมุดทั่วไป เพราะต้องการอยากทราบรายได้ รายจ่ายในแต่ละวัน และต้องการรู้ผลกำไรขาดทุนจากการประกอบอาชีพ โดยเริ่มแรกได้บันทึกรายได้และต้นทุนจากการค้าขายเนื่องจากได้เปิดร้านขายของชำ ต่อมาได้เห็นประโยชน์จากการบันทึกบัญชีจึงได้ลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายของอาชีพอื่น ๆ โดยได้แยกเล่มจดบันทึกแยกแต่ละอาชีพหลัก ๆ ให้เห็นเด่นชัด ต่อมาเมื่อพระเอกขี่ม้าขาวเข้ามาช่วย คือ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย ได้มาทำการอบรมเรื่องของการบันทึกบัญชี รับ – จ่าย เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2549 จึงได้เริ่มจดตามแบบของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และได้นำข้อมูลที่ได้จากการจดบันทึกมาวิเคราะห์เพื่อเพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และจากการจดบันทึกบัญชีและนำมาวิเคราะห์แล้วพ่อบุญเป็งพบว่า อาชีพเลี้ยงปลาให้รายได้และทำกำไรได้ดีที่สุด จึงได้เพิ่มขยายพื้นที่เลี้ยงปลาเพิ่มขึ้น จากนั้นจึงได้นำมาทดลองเลี้ยงปลาในแปลงนาข้าว ปรากฏว่าสามารถช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยได้อีก และยังไม่ต้องใช้ยาปราบศัตรูพืช เนื่องจากปลากินพืชแล้ว ยังถ่ายมูลเพื่อเป็นปุ๋ยแก่ต้นข้าว อีกทั้งปลายังทำให้ดินกลายเป็นโคลนทำให้วัชพืชไม่ขึ้น

อนาคตพ่อบุญเป็งจึงวางแผนเพิ่มพื้นที่เลี้ยงปลาในแปลงข้าวโดยไม่ต้องเสียพื้นที่เพาะปลูกเพื่อขุดบ่อปลา สำหรับอาชีพอื่น ๆ ได้ลดต้นทุนโดยการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์โดยไม่ใช้สารเคมี หลังจากนั้น พอตัวเองรู้ว่าประสบผลสำเร็จจากการทำบัญชี เพราะชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี จึงได้ขอสมัครเป็นครูบัญชีอาสา (ทำให้นึกถึงคำพูดของ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ท่านได้พูดได้ไว้ที่การสัมมนาเกษตรกรดี่เด่นด้านบัญชี เรื่อง รู้จด รู้จริง รู้จ่าย จะไม่จน ในโครงการเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีแก่เกษตรกร ปี 2550 เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2550 ณ โรงแรมเอส ดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร ว่า) ครูที่ดี จะต้องมีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ
1. ความรู้ คนที่จะเป็นครูได้ จะต้องมีความรู้ คือรู้จริง
2. รู้และต้องปฏิบัติ ตามความรู้ และต้องเห็นจริง จึงจะถ่ายทอดความรู้ได้
3. มีวิญญาณความสุข ที่จะนำความรู้ไปเผยแพร่แก่คนอื่นได้
ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมพ่อบุญเป็งจึงเป็นครูบัญชีเกษตรอาสาที่ดี และเป็นเพชรที่สำนักงาน ตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย โดยหัวหน้าสุนีย์ พิทักษ์วาปี และคณะ ได้ร่วมกันเจียระไน เพื่อเพิ่มมูลค่าของเพชร ให้เป็นประโยชน์และมีคุณค่า เสมอ (สำนวนไม่ใช่เล่นเหมือนกัน) สำหรับเกษตรกร และชาวบ้านทั่วไป
 
>>> เมื่อเห็นผล จึงได้ขยายเครือข่ายการทำบัญชี

พ่อบุญเป็งได้มีการขยายเครือข่ายไปยังคนในชุมชนอีกมากมาย โดยในวันนั้น ได้พาท่านอธิบดีไปเยี่ยมเครือข่ายของพ่อบุญเป็ง อีก 3 บ้าน บ้านแรกได้แก่บ้านของนายชินกร ไกรถิ่น เมื่อคณะมาถึงหน้าบ้าน ได้รับเสียงต้อนรับจากสุนัข อย่างดี เจ้าของบ้านคือคุณชินกร ต้องรีบนำไปผูกเชือกไว้เพราะกลัวว่า น่องขาว ๆ ของพวกเราอาจจะต้องเป็นเหยื่อเขี้ยวเล็บของสุนัขก็ได้ เมื่อผูกเชือกเสร็จพวกเราก็ไม่กลัว จึงได้ทำการเดินดูรอบบริเวณบ้าน ปรากฏว่าลิ้นจี่กำลังออกช่อสีแดง ชวนให้พวกเราแอบเด็ดจากต้น คนละเม็ด 2 เม็ด ทั้ง ๆ ที่เจ้าของบ้านมีใส่จานไว้ให้ทานกัน แต่มันก็ไม่สนุกเหมือนกับการแอบหยิบจากต้น (เหมือนแมวขโมย มันตื่นเต้นดีออกค่ะ ของอะไรได้มาง่าย ๆ ก็ย่อมไม่ตื่นเต้น อะไรได้มายากก็จะรู้คุณค่าจริงไหมค่ะ) หลังจากนั้นเราจึงได้เดินทางไปสมทบกับท่านอธิบดี ซึ่งได้สัมภาษณ์ และพูดคุยกับคุณชินกร ได้เล่าให้ฟังว่า ในอดีตมีอาชีพทำนาเป็นหลัก ประกอบกับการทำไร่ข้าวโพด และก็พบว่าอาชีพทำนาไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ จึงได้เริ่มทำโรงสีข้าว และเลี้ยงหมู เพราะคิดได้ว่าถ้าหากว่าสีข้าวยังมีแกลบ รำ เพื่อใช้เป็นอาหารหมูได้ พร้อมกันนั้นได้มีการจดบันทึกรายรับ รายจ่ายในครัวเรือนไว้ และได้นำมาวิเคราะห์พบว่าการทำโรงสีข้าวทำให้มีรายได้สม่ำเสมอเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอาชีพทำนา ซึ่งสามารถขายผลิตผลได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น แต่ต้องเสียเวลา และแรงงานมาก ทำให้ไม่คุ้มต้นทุน ที่สูญเสีย หลังจากนั้น ทางคณะจึงได้เดินทางไปยังบ้านของ นายประดิษฐ์ พรหมมินทร์ทางเข้าสวนของเขา เป็นดินแดง พวกเราในรถได้ยินเสียงร้องของหัวหน้าสุนีย์ เสียงหลง พวกเราก็สงสัยว่ามีอะไรกัน ที่ไหนได้ หัวหน้าสุนีย์ กลัวรถสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย ที่นำหน้ารถคณะจะไปทับต้นข้าวโพดที่เกษตรกรได้ลงไว้ พวกเราโล่งอกกันไปตาม ๆ กันเมื่อรถคันหน้าได้เลี้ยวก่อนถึงต้นข้าวโพด เมื่อนั้นพวกเราอาจจะต้องเป็นเกษตรกร มาลงมือปลูกข้าวโพดเพื่อทดแทนที่ถูกทับก็ได้ เมื่อลงจากรถ ได้เห็นการปลูกพืชหลายอย่างจากสวนของนายประดิษฐ์ ในสวนประกอบด้วยต้น มะม่วง ต้นถั่วฝักยาว ต้นแก้วมังกรที่ปลูกเรียงราย ต้นพริกขี้หนูที่เม็ดงาม ๆ มีบ่อปลา บรรยากาศถึงแม้ว่าจะร้อน แต่ท่านอธิบดียังไม่ถอย เราเป็นลูกน้องเราจะแอบไปหลบได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่ใจนั้นอยากจะหลบไอร้อนมาก เหงื่อทุกคนเริ่มท่วมตัว แต่เราจะอดทนค่ะ พี่น้องเกษตรกรยังทนหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดินทำนาให้เรากินได้ แล้วเหตุไฉนเรื่องแค่นี้เราจะทนไม่ได้ (ชิว ชิว ใครอยากรู้ศัพท์นี้ต้องไปหาในพจนานุกรมฉบับใหม่ล่าสุด อีก 3 – 4 เดือนถึงจะออกน๊ะคะ) ท่านอธิบดีได้คุยกับคุณประดิษฐ์ และได้ข้อมูลมาว่า แต่ก่อนเคยประกอบอาชีพทำนา และทำไร่ข้าวโพด แต่มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายในครอบครัว เพราะว่าข้าวและข้าวโพดมีราคาถูก และต้นทุนสูง และมีรายได้เฉพาะฤดูกาลเท่านั้น

จึงคิดที่จะทำอาชีพอื่นเพิ่มเติม โดยทำไร่นาแบบสวนผสม หลังจากนั้น ได้มีการจดบันทึกบัญชี ทำให้รู้ว่าอาชีพไหนที่ทำแล้วมีกำไร อาชีพไหนที่ทำแล้วขาดทุน จึงตัดสินใจว่าต้องจัดสรรพื้นที่ที่มีอยู่ว่าจะทำอะไรมาก อะไรน้อย เช่น อาชีพทำนารู้ว่ามีต้นทุนสูง แต่ก็ต้องทำเพราะอย่างน้อยก็ทำไว้กินเองเลยแบ่งพื้นที่ทำนาไม่มาก หันมาใช้พื้นที่ที่มีอยู่มาขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลูกแก้วมังกร และพืชผักสวนครัวขึ้นมาทดแทน ปัจจุบัน พื้นที่ที่ทำอยู่ได้ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ข้าวโพด เลี่ยงปลา ปลูกแก้วมังกร พืชผักสวนครัว ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีเงินหมุนเวียนใช้ตลอดปี หลังจากที่พูดคุยกันเสร็จ แดดก็ร้อน แต่ภารกิจของพวกเราก็ยังไม่เสร็จสิ้น ยังเหลือเครือข่ายของลุงบุญเป็งบ้านสุดท้ายที่ท่านอธิบดีจะต้องไปพูดคุยด้วย คือคุณจันทร์เที่ยง แก้วกรอง ซึ่งอยู่ในสวน ท่านอธิบดีได้พาพวกเราเดินในสวน ซึ่งสวนนี้เป็นสวนมะไฟ มีมะไฟออกช่อเหลืองอร่าม น่ากินจริง ๆ (คงไม่ต้องสงสัยน๊ะคะว่าทำไมผู้เขียนถึงได้สมบูรณ์เพราะไปที่ไหนก็น่ากินไปเสียหมด) ท่านอธิบดีได้คุยกับคุณจันทร์เที่ยง พอทราบว่า ในอดีตประกอบอาชีพทำนาหลายสิบไร่ แต่ก็ได้กำไรน้อยไม่พอกับค่าใช้จ่ายที่มีอยู่ จึงมีแนวคิดที่จะหาอาชีพเสริมโดยแบ่งที่นาให้คนอื่นเช่าและเก็บไว้ทำเองบางส่วน แล้วเริ่มหันมาเลี้ยงปลา ทำสวนผลไม้ สวนพืชผักสวนครัว และอาชีพช่างเสริมสวย พร้อมทั้งได้จดบันทึกบัญชีรายรับ รายจ่าย ในครัวเรือนด้วย เพื่อต้องการรู้ว่าอาชีพไหนทำแล้วมีกำไร หรืออาชีพไหนทำแล้วขาดทุน จากการจดบันทึกบัญชีทำให้คุณจันทร์เที่ยงรู้ว่าอาชีพช่างเสริมสวยเป็นอาชีพที่รายได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่มีลูกค้าสม่ำเสมอ จึงหันมาทำไร่ทำนาสวนผสมเพิ่มเติม เพราะอย่างน้อยก็เป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเพราะสามารถที่จะปลูกพืชผักและเลี้ยงปลากินเอง หลังจากที่สัมภาษณ์เสร็จ ภารกิจการติดตามท่านอธิบดีก็เสร็จสิ้น พวกเราทีมงานถ่ายทำ และคณะท่านอธิบดี ก็เริ่มท้องร้องกันเพราะหิวจริง ๆ หัวหน้าสุนีย์ พาพวกเราไปทานอาหารบนเขาซึ่งอยู่เลยบ้านพ่อบุญเป็งไปนิดหน่อย ประมาณ ครึ่งกิโล บรรยากาศดีมาก ๆ เลย เพราะมีแม่น้ำ เหลือเชื่อว่าจะมีแม่น้ำบนภูเขา วันนั้นเด็กเสริฟมีมากเป็นพิเศษเพราะได้มาจาก สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย เพราะช่วงเช้าได้มาสอนบัญชีให้กับเกษตรกรที่บ้านพ่อบุญเป็งแล้ว ช่วงบ่ายก็ได้มาช่วยเสริฟอาหาร พวกเราทานอาหารกันอย่างมีความสุข พร้อมด้วยพ่อบุญเป็งที่ดูจะมีความสุขมากกว่าทุกคน เพราะท่านอธิบดีเรืองชัย ของเราได้ให้ความเป็นกันเอง สนิทสนม และพูดคุยด้วยความรู้สึกที่เป็นมิตร ระหว่างทางอาหารไป พ่อบุญเป็งได้เล่าให้ฟังถึงเรื่องครอบครัว ลูกทุกคนมีความกตัญญู ไม่ทำความเดือดร้อนมาให้ ดังนั้นเมื่อครอบครัวมีสุขแล้ว จึงอยากจะแบ่งปันความสุขที่ตัวเองได้รับให้กับเพื่อนบ้าน ให้กับชุมชน พวกเราได้ฟังพ่อบุญเป็งแล้ว ทำให้คิดว่าพวกเราได้ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายดีกันหรือยัง เกษตรกรที่อยู่ไกล เขายังมีความคิดที่จะเสียสละเพื่อชุมชน แล้วท่านหล่ะเคยคิดที่จะทำอะไรเพื่อประเทศชาติบ้าง สำหรับวันนี้ก็คงพอก่อนเพราะว่าเมื่อยมือในการพิมพ์ ไว้โอกาสหน้าถ้าได้ติดตามท่านอธิบดีไปตรวจเยี่ยมเกษตรกรที่ไหนอีก และมีมุขเด็ด ๆ อะไรก็จะมาเล่าให้ท่านอ่านอีกน๊ะคะ สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ


ข่าว/บทความยอดนิยม ข่าว/บทความที่คะแนนโหวตสูงสุด ข่าว/บทความล่าสุด
Learning English : ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (22/03/2550)
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPL) ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรปี 2555
วิกฤตเศรษฐกิจกระทบเศรษฐกิจสหกรณ์ออมทรัพย์หรือไม่ อย่างไร...
บัญชีต้นทุนประกอบอาชีพช่วยเกษตรกรเรื่องภาษีได้
ผู้สอบบัญชีสหกรณ์มีบทบาทและหน้าที่ในการป้องกันและตรวจสอบการทุจริตในสหกรณ์ได้อย่างไร
รายงานภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาส 4/2555
ครัวเรือนภาคสหกรณ์ออมเงินเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 12.34%
ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาส 3/2557
เสถียรภาพทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ปี 2556
ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรไทย ปี 2549 (28/03/2550)
สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจของสหกรณ์ออมทรัพย์ และแนวโน้ม ปี 2568
สถานการณ์การค้าข้าวไทยและการรวบรวมผลิตผลข้าวเปลือกของภาคสหกรณ์์ไทยปี 2567
สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีส่วนขาดแห่งทุน
หนี้ที่ชำระไม่ได้ตามกำหนด/NPL ภาคสหกรณ์ไทย ในไตรมาส 2/2567
สุขภาพทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์
จำนวนคนอ่าน 9598 คน จำนวนคนโหวต 35 คน

  จำนวนคนโหวต 35 คน
โหวตคะแนนให้ข่าว/บทความนี้
1 2 3 4 5

  ระดับ 

  ให้ 1 คะแนน
0%
  ให้ 2 คะแนน
0%
  ให้ 3 คะแนน
 
3%
  ให้ 4 คะแนน
 
9%
  ให้ 5 คะแนน
 
89%
เกี่ยวกับเรา
  • ประวัติ
  • อาคารอนุรักษ์
  • ทำเนียบอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
  • ผังโครงสร้างกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
  • วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย
  • ค่านิยมหลัก
  • วัฒนธรรมองค์กร
  • ทำเนียบ / สถานที่ตั้ง

  • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    สงวนลิขสิทธิ์ 2559 - กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
    ศูนย์บริการประชาชน (Call Center) 0 2016 8888 โทรสาร 0 2282 0889
     

    Valid HTML 4.01 Transitional

    การแสดงผลหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดสำหรับ Google Chrome และ Internet Explorer ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 650 pixel